AGP ย่อมาจาก Accelerated Graphics Port พัฒนาโดยIntel โดยอ้างอิงอยู่กับมาตรฐาน PCI 2.1 จึงมีแบนด์วิดท์อยู่ที่66 MHz. จุดประสงค์ของ AGP ก็เพื่อเพิ่มความเร็วในการแสดงผลโดยเฉพาะกับวัตถุ 3 มิติและการทำพื้นผิวที่เรียกว่า textureทำให้การแสดงผลภาพวิดิโอที่ละเอียดและราบรื่นมากขึ้น
สำหรับการพัฒนา AGP โดยอินเทลเริ่มใช้ตั้งแต่ยุคของ Slot-1 และPentium II ในปัจจุบันก็ยังมีใช้อยู่รวมทั้งบอร์ดของซ็อคเก็ต 7 ที่เรียกว่า Super 7 ก็สนับสนุน AGP ด้วย AGP ยุคแรกเป็น AGP แบบ 1X ต่อมา 2X และที่สูงสุดตอนนี้คือแบบ 4X ทีมีในเมนบอร์ดที่ใช้ชิพเซ็ตรุ่นใหม่ ๆ
การสร้างภาพ 3 มิติจะมีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วนคือ การสร้างวัตถุ3 มิติและการทำพื้นผิว โดยทั่วไปหน้าที่การสร้างวัตถุ 3 มิติจะเป็นหน้าที่ของซีพียูเนื่องจากซีพียูสามารถคำนวณเลขทศนิยมได้จำนวนมาก ๆ ได้ดีกว่าชิพแสดงผล ส่วนชิพแสดงผลที่อยู่ในการ์ดวีจีเอจะจัดการทางด้านการทำพื้นผิวและแสงเงาต่าง ๆ ถ้ายิ่งมีการใช้พื้นผิวขนาดใหญ่ จำนวนบิตสีมาก ๆ แล้วจะต้องมีการโอนถ่ายข้อมุลจำนวนมากมายและต่อเนื่องเช่นเกมส์ประเภท 3 มิติ การเล่นเกมส์ให้ได้ความเร็วสูง ๆ แอพพลิเคชั่นทางธุรกิจ วิศวกรรมโยธา แอนิเมชั่นต่าง ๆ นี่ก็ต้องการแรมมมาก ๆ นะครับ อย่าคิดว่าเราไม่ได้ทำงานพวกนั้นนะครับก็อาจจะเป็นการเรียนหรือเอามาศึกษาครับ โปรแกรมที่ต้องการการประมวลผลที่ต้องการความเร็วนี่หากมีหน่วยความจำมาก ๆ นี่ก็จะช่วยให้ความสามารถทางด้าน 3 มิติดีและเร็วครับ ไม่ต้องมามัวนั่งคอยทรมานอยู่นะครับ เช่น หากมีงานพรีเซนเตชั่นที่ต้องการให้เห็นสินค้าหรืออุปกรณ์ที่ต้องการเห็นในหลายมุมมองหรือที่ใกล้ ๆ ก็พวกชาร์ตของเอ็กเซลที่แสดงผลแบบแอนิเมชั่นนะครับที่ขนาดใหญ่ ๆ นั้นต้องการหน่วยความจำในการแสดงผลมากทีเดียวครับ การเพิ่มแรมบนการ์ดแสดงผลนั้นเป็นการแก้ปัญหาที่มีราคาแพงเพราะต้อนทุนในการผลิตแรมที่มีราคาสูง ถือว่าเป็นการสิ้นเปลือง การ์ดแบบ AGP ออกแบบมาเพื่อเป็นการแก้ปัญหานี้โดยจะมีช่องทางที่สร้างขึ้นมาโดยเฉพาะ ไม่ขึ้นอยู่กับบัสใด ๆ มีการจัดการเป็นของตนเอง ช่องทางที่สร้างขึ้นนี้จะทำการติดต่อระหว่าง System Memory หรือแรมที่อยู่บนเมนบอร์ดติดต่อกับ Graphic Chip เพื่อเพิ่มความเร็วในการถ่ายข้อมูลและดึงเอาส่วนที่ว่างของ System Memory มาใช้ในการประมวลผลของ Texture ขนาดใหญ่ช่องทางนี้คือ AGP ทำให้ลดการใช้แรมจำนวนมากบนตัวการ์ดการ์ดวีจีเอแบบ AGP คุณสมบัติของการ์ด AGP คือ DIME หรือ Direct MemoryExcecute การประมวลผลผ่านหน่วยความจำของระบบหรือแรมโดยตรงเสมือนว่าเป็นหน่วยความจำของตนเอง ทำให้ไม่จำเป็นต้องมีแรมบนตัวการ์ดแสดงผลที่มากมาย
ความจำหลักนั้นจะส่งผลให้มีการส่งผ่านข้อมูลของการ์ดวีจีเอมีความรวดเร็วขึ้น การส่งผ่านข้อมูลของหน่วยความจำหลักจะขึ้นกับชนิดของหน่วยความจำดังนี้ครับ1. แบบ EDO DRAM.SDRAM จะได้ 528 MB/S2. แบบ SDRAM PC100 จะได้ 800 MB/S3. แบบ DRDRAM จะได้ 1.4 GB/S
ดังนั้นการที่จะได้ความเร็วของการส่งผ่านข้อมูลของ AGP กี่ X นั้นก็ต้องขึ้นกับชนิดของหน่วยความจำหลักด้วยครับ เช่น คุณใช้เมนบอร์ดที่รองรับ AGP4X แต่ใช้ SDram ก็ไม่ได้ใช้ความสามารถถึง 4X หรอกครับเพราะแรมมีความไวไม่ถึงครับ
เข้าใจเรื่องกี่ X ของ AGP=================เมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลพื้นผิว ข้อมูลพื้นผิวจะถูกอ่านจากอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเช่นฮาร์ดดิสก์หรือซีดีรอมเอาไปเก็บไว้ใน System Memory จากนั้น Graphic Chipจะประมวลผล Texture จาก System Memory ผ่านทางพอร์ต AGP เมื่อได้ผลลัพธ์แล้วจะส่งมายังบัฟเฟอร์ซึ่งก็คือ Local Video Memory เพื่อนำมาแปลงเป็นสัญญาณภาพแสดงที่มอนิเตอร์อีกทีหนึ่งAGP มีความกว้างของบัสเท่ากับ 32 บิตเหมือนกับ PCI แต่แตกต่างตรงกับที่มันวิ่งที่ความเร็วเท่ากับความเร็วของ FSB ซึ่งต่างกับ PCI ที่วิ่งด้วยความเร็วครึ่งหนึ่งของ FSBหากเป็นบัสความไว 66 MHz. ก็จะปรับค่าสัดส่วน AGP เป็น 1/1 บนบัสความไว 100 MHz.จะปรับค่าสัดส่วน AGP เป็น 2/3 ส่วนเมนบอร์ดรุ่นใหม่ที่ใช้บัว 133 MHz. ก็จะปรับค่าสัดส่วน AGP เป็น 1/2 ทำให้การโอนถ่ายข้อมูลของ AGP มีมากกว่า PCI ถึง 2 เท่า นอกจากนั้น AGP ยังสามารถส่งข้อมูลได้ถึง 2 ครั้งต่อ 1 รอบสัญญาณนาฬิกาโดยจะทำการส่งข้อมูลทั้งขอบขาขึ้นและขาลงของสัญญาณนาฬิกา ทำให้มีการโอนถ่ายข้อมูลมากกว่า PCI ถึง 4 เท่าหรือ ประมาณ 528 MB./s และเนื่องจาก AGP เป็นบัสแบบ pipeline ซึ่งทำให้ชิพวีจีเอสามารถประมวลและโอนถ่ายข้อมูลข้อมูลเป็นได้อย่างเต็มที่ อีกทั้ง AGP ยังได้เพิ่มบัสพิเศษอีก 8 เส้นเรียกว่า Sideband Addressing สำหรับให้ชิพวีจีเอประมวลผลคำสั่งพร้อมกับส่งข้อมูลผ่านทางเมนบัส 32 เส้นได้
สำหรับการพัฒนา AGP โดยอินเทลเริ่มใช้ตั้งแต่ยุคของ Slot-1 และPentium II ในปัจจุบันก็ยังมีใช้อยู่รวมทั้งบอร์ดของซ็อคเก็ต 7 ที่เรียกว่า Super 7 ก็สนับสนุน AGP ด้วย AGP ยุคแรกเป็น AGP แบบ 1X ต่อมา 2X และที่สูงสุดตอนนี้คือแบบ 4X ทีมีในเมนบอร์ดที่ใช้ชิพเซ็ตรุ่นใหม่ ๆ
การสร้างภาพ 3 มิติจะมีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วนคือ การสร้างวัตถุ3 มิติและการทำพื้นผิว โดยทั่วไปหน้าที่การสร้างวัตถุ 3 มิติจะเป็นหน้าที่ของซีพียูเนื่องจากซีพียูสามารถคำนวณเลขทศนิยมได้จำนวนมาก ๆ ได้ดีกว่าชิพแสดงผล ส่วนชิพแสดงผลที่อยู่ในการ์ดวีจีเอจะจัดการทางด้านการทำพื้นผิวและแสงเงาต่าง ๆ ถ้ายิ่งมีการใช้พื้นผิวขนาดใหญ่ จำนวนบิตสีมาก ๆ แล้วจะต้องมีการโอนถ่ายข้อมุลจำนวนมากมายและต่อเนื่องเช่นเกมส์ประเภท 3 มิติ การเล่นเกมส์ให้ได้ความเร็วสูง ๆ แอพพลิเคชั่นทางธุรกิจ วิศวกรรมโยธา แอนิเมชั่นต่าง ๆ นี่ก็ต้องการแรมมมาก ๆ นะครับ อย่าคิดว่าเราไม่ได้ทำงานพวกนั้นนะครับก็อาจจะเป็นการเรียนหรือเอามาศึกษาครับ โปรแกรมที่ต้องการการประมวลผลที่ต้องการความเร็วนี่หากมีหน่วยความจำมาก ๆ นี่ก็จะช่วยให้ความสามารถทางด้าน 3 มิติดีและเร็วครับ ไม่ต้องมามัวนั่งคอยทรมานอยู่นะครับ เช่น หากมีงานพรีเซนเตชั่นที่ต้องการให้เห็นสินค้าหรืออุปกรณ์ที่ต้องการเห็นในหลายมุมมองหรือที่ใกล้ ๆ ก็พวกชาร์ตของเอ็กเซลที่แสดงผลแบบแอนิเมชั่นนะครับที่ขนาดใหญ่ ๆ นั้นต้องการหน่วยความจำในการแสดงผลมากทีเดียวครับ การเพิ่มแรมบนการ์ดแสดงผลนั้นเป็นการแก้ปัญหาที่มีราคาแพงเพราะต้อนทุนในการผลิตแรมที่มีราคาสูง ถือว่าเป็นการสิ้นเปลือง การ์ดแบบ AGP ออกแบบมาเพื่อเป็นการแก้ปัญหานี้โดยจะมีช่องทางที่สร้างขึ้นมาโดยเฉพาะ ไม่ขึ้นอยู่กับบัสใด ๆ มีการจัดการเป็นของตนเอง ช่องทางที่สร้างขึ้นนี้จะทำการติดต่อระหว่าง System Memory หรือแรมที่อยู่บนเมนบอร์ดติดต่อกับ Graphic Chip เพื่อเพิ่มความเร็วในการถ่ายข้อมูลและดึงเอาส่วนที่ว่างของ System Memory มาใช้ในการประมวลผลของ Texture ขนาดใหญ่ช่องทางนี้คือ AGP ทำให้ลดการใช้แรมจำนวนมากบนตัวการ์ดการ์ดวีจีเอแบบ AGP คุณสมบัติของการ์ด AGP คือ DIME หรือ Direct MemoryExcecute การประมวลผลผ่านหน่วยความจำของระบบหรือแรมโดยตรงเสมือนว่าเป็นหน่วยความจำของตนเอง ทำให้ไม่จำเป็นต้องมีแรมบนตัวการ์ดแสดงผลที่มากมาย
ความจำหลักนั้นจะส่งผลให้มีการส่งผ่านข้อมูลของการ์ดวีจีเอมีความรวดเร็วขึ้น การส่งผ่านข้อมูลของหน่วยความจำหลักจะขึ้นกับชนิดของหน่วยความจำดังนี้ครับ1. แบบ EDO DRAM.SDRAM จะได้ 528 MB/S2. แบบ SDRAM PC100 จะได้ 800 MB/S3. แบบ DRDRAM จะได้ 1.4 GB/S
ดังนั้นการที่จะได้ความเร็วของการส่งผ่านข้อมูลของ AGP กี่ X นั้นก็ต้องขึ้นกับชนิดของหน่วยความจำหลักด้วยครับ เช่น คุณใช้เมนบอร์ดที่รองรับ AGP4X แต่ใช้ SDram ก็ไม่ได้ใช้ความสามารถถึง 4X หรอกครับเพราะแรมมีความไวไม่ถึงครับ
เข้าใจเรื่องกี่ X ของ AGP=================เมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลพื้นผิว ข้อมูลพื้นผิวจะถูกอ่านจากอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเช่นฮาร์ดดิสก์หรือซีดีรอมเอาไปเก็บไว้ใน System Memory จากนั้น Graphic Chipจะประมวลผล Texture จาก System Memory ผ่านทางพอร์ต AGP เมื่อได้ผลลัพธ์แล้วจะส่งมายังบัฟเฟอร์ซึ่งก็คือ Local Video Memory เพื่อนำมาแปลงเป็นสัญญาณภาพแสดงที่มอนิเตอร์อีกทีหนึ่งAGP มีความกว้างของบัสเท่ากับ 32 บิตเหมือนกับ PCI แต่แตกต่างตรงกับที่มันวิ่งที่ความเร็วเท่ากับความเร็วของ FSB ซึ่งต่างกับ PCI ที่วิ่งด้วยความเร็วครึ่งหนึ่งของ FSBหากเป็นบัสความไว 66 MHz. ก็จะปรับค่าสัดส่วน AGP เป็น 1/1 บนบัสความไว 100 MHz.จะปรับค่าสัดส่วน AGP เป็น 2/3 ส่วนเมนบอร์ดรุ่นใหม่ที่ใช้บัว 133 MHz. ก็จะปรับค่าสัดส่วน AGP เป็น 1/2 ทำให้การโอนถ่ายข้อมูลของ AGP มีมากกว่า PCI ถึง 2 เท่า นอกจากนั้น AGP ยังสามารถส่งข้อมูลได้ถึง 2 ครั้งต่อ 1 รอบสัญญาณนาฬิกาโดยจะทำการส่งข้อมูลทั้งขอบขาขึ้นและขาลงของสัญญาณนาฬิกา ทำให้มีการโอนถ่ายข้อมูลมากกว่า PCI ถึง 4 เท่าหรือ ประมาณ 528 MB./s และเนื่องจาก AGP เป็นบัสแบบ pipeline ซึ่งทำให้ชิพวีจีเอสามารถประมวลและโอนถ่ายข้อมูลข้อมูลเป็นได้อย่างเต็มที่ อีกทั้ง AGP ยังได้เพิ่มบัสพิเศษอีก 8 เส้นเรียกว่า Sideband Addressing สำหรับให้ชิพวีจีเอประมวลผลคำสั่งพร้อมกับส่งข้อมูลผ่านทางเมนบัส 32 เส้นได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น